ที่ บริเวณลานด้านหน้าองค์พระใหญ่ พระพุทธโคดมศากยราช วัดอัมพวัน ตำบลบางขันหมาก อำเภอเมืองจังหวัดลพบุรี นายบำรุง รื่นบันเทิง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยนายศรีชัย ตันฑะโสภณ นานอำเภอเมืองลพบุรี ได้นำกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นชาวไทยเชื่อสายรามัญ หรือชาวมอญบางขันหมาก แห่งลุ่มน้ำลพบุรี ซึ่งมีทั้งผู้สูงอายุคนวัยทำงาน และเด็กๆ ลูกหลานชาวมอญ ซึ่วต่างก็พร้อมใจกันแต่งกายด้วยชุดแต่งกายประจำกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวรามัญ หรือชาวมอญ อย่างสวยสดงดงาม ออกมาร่วมกันทำบุญใหญ่ เพื่อสืบสานประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งของชาวมอญบางขันหมาก ประจำปี 2562 ซึ่งประเพณีดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในในวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 10
ซึ่งการตักบาตรน้ำผึ้งผู้ที่นำน้ำผึ้งมาตักบาตร ต้องนำน้ำผึ้งมารินใส่ในบาตรเหมือนกับการใส่บาตรอาหารคาวหวานทุกประการ (แต่เพียงใส่น้ำผึ้งเพียงอย่างเดียว)ในการตักบาตรน้ำผึ้งนั้น ชาวมอญเชื่อกันว่า เป็นการทำบุญที่ได้อานิสงส์มากเพราะน้ำผึ้งเป็นยาอายุวัฒนะ พระภิกษุสงฆ์นั้นก็จะนำน้ำผึ้งไปผสมกับยาและปั้นเป็นยาลูกกลอนฉันตอนพระภิกษุสงฆ์อาพาธ นอกจากนี้ น้ำผึ้งยังเปรียบเสมือนยารักษาโรคบำรุงร่างกายให้มีกำลังวังชาด้วย เพราะน้ำผึ้งจัดเป็น 1ในเภสัชทาน 5ชนิด ได้แก่ น้ำผึ้ง เนยใส เนยข้น น้ำมัน และน้ำอ้อย ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพที่พระสงฆ์พึ่งฉันได้ปัจจุบันอนุโลมน้ำตาลเข้ามาร่วมด้วยเพราะถือว่ามาจากน้ำอ้อยนั่นเอง และ ในสมัยพุทธกาลมีสัตว์น้อยใหญ่นำผลไม้และน้ำผึ้งมาถวาย เพื่อให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสวยเพื่อประทังชีวิตมนุษย์จึงถือว่าน้ำผึ้งเป็นทิพย์โอสถที่สามารถนำมาบริโภคบำรุงชีวิตให้แข็งแรงและยืดยาวโดยปราศจากโรคภัยเพราะน้ำผึ้งเป็นสิ่งมีคุณค่ามาแต่โบราณ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้งจึงถือกำเนิดขึ้นมาเป็นตำนานและความเชื่อ
โดยหลังเสร็จสิ้นในการทำบุญ ตักบาตรน้ำผึ้ง น้ำตาลทราย ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์แล้วชาวไทยเชื่อสายรามัญ หรือมอญบางขันหมาก ก็จะร่วมกัน แห่ธงตะขาบผืนใหญ่จำนวน 2 ผืนซึ่งถือว่าเป็นธงสัญลักษณ์ประจำชาวไทย เชื้อสายรามัญ โดยจะแห่เวียนรอบ องค์พระพุทธโคดมศากยราช จำนวน 3 รอบก่อนจะร่วมกันชักธงขึ้นสู่ยอดเสาหงส์ ให้ปรากฏใเห็นโดยทั่วกัน เพราะชาวมอญเชื่อว่าตนสืบเชื้อสายมาจากหงสาวดี และส่วนใหญ่ยังคงยึดมั่นอยู่ในประเพณีความเชื่ออันมีเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ โดยพร้อมที่จะสืบสานความเป็นอัตลักษณ์ของชาวมอญบางขันหมาก ที่มามายาวนานกว่า 100 ปี ให้คงอยู่สืบไป
ใจรัก วงศ์ใหญ่ สมชาย เกตุฉาย ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี