“โครงการในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตปี 2562 เป็นการฟื้นฟู สิ่งมีชีวิต คืนสู่ธรรมชาติ ด้วยเกษตรอินทรีย์ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง”ก่อตั้งโดยนาย ธานินท์ พงษ์พานิช นักธุรกิจหนุ่มใหญ่ที่หันหน้าหนีจากเมืองหลวงผันตัวเองทำเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มตัว ซึ่งมีแนวคิดในเรื่องการเพิ่มผลผลิตในนาข้าว การทำนาแบบอินทรีย์จะต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ รวมทั้งจะต้องจัดการและรักษาระบบนิเวศในแปลงนา การเลี้ยงปลาในนา เป็นการผลิตอาหารแป้งและอาหารโปรตีนในที่เดียวกัน ทำให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น และมีอาหารโปรตีนบริโภคอีกด้วย ประโยชน์จากการเลี้ยงปลาในนาข้าว พอสรุปได้ คือ เพิ่มผลผลิตข้าวทำให้ดินดี มีปุ๋ย ไถง่ายปลาช่วยกำจัดวัชพืชและแมลง ช่วยให้อินทรีย์สารต่างๆ สลายตัว ทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น”
เมื่อวันที่ 23 ส.ค.62 เวลา 09.00 น.ณ แปลงสาธิต บ้านใหม่ท้ายวัง ต.หนองคล้า อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร ได้จัดพิธีเปิด “โครงการในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตปี 2562 เป็นการฟื้นฟู สิ่งมีชีวิต คืนสู่ธรรมชาติ ด้วยเกษตรอินทรีย์ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งได้รับเกียรติจากนายทวีพงษ์ แสงสุวรรณ นายอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานพิธี โดยมีนายธานินท์ พงษ์พานิช ผู้ก่อตั้งโครงการฯ กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ พร้อมด้วยอาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศกรรมไฟฟ้า หัวหน้าพัฒนาระบบเครื่องหย่อนกล้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,นายบุญช่วย เข็มคง เกษตรอำเภอไทรงาม,อาจารย์สมมาตร บุญฤทธิ์ ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านศรีวิไลสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานอันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ สำนักงาน กปร.,นายสารัตน์ ตั้งเขตการ ที่ปรึกษานายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร,ส.อ.ชาญวุฒิ วิชระโภชน์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฎิบัติการ,นายกิตติ จิลศรี ประธานสภาตำบลหนองคล้า,นายยงยุทธ พงษ์เสือ ผู้จัดการธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ สาขาไทรงาม,นางมาลัย พันธุ์เขตร์กิจ ผู้ใหญ่บ้าน ม.6 ต.หนองคล้า และ ชาวบ้าน ม.6 หนองคล้า อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการฯครั้งนี้
หลังจากนั้นได้ร่วมพิธีเปิดโครงการในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เพื่อเริ่มต้นฤดูการผลิต ปี 2562 อย่างเป็นทางการ พร้อมทำพิธีปล่อยปลาในนาข้าวมีปลาดุกจำนวน 60,000 ตัว ปลานิล จำนวน 6,000 ตัว และทำพิธีเปิดฤกษ์การทำนาในฤดูกาลใหม่ ด้วยนวัฒกรรมการทำนาแบบประณีตด้วยเครื่องหย่อนกล้าข้าวไอ้เขี่ยม KU การสาธิตโยนกล้า
รวมทั้งรับฟังการบรรยายให้ความรู้ด้านวัฒกรรมการทำนาแบบประณีตด้วยเครื่องหย่อนกล้าข้าวไอ้เคี่ยม KU จากอาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา และรับฟังการบรรยายให้ความรู้แนวทางการเกษตรแบบผสมผสาน จากอาจารย์สมมาตร บุญฤทธิ์ ซึ่งทั้ง 2 ท่านให้เกียรติเป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจกับชาวบ้านในการทำเกษตรอินทรีย์ครั้งนี้
ด้านนายทวีพงษ์ฯ นายอำเภอไทรงามฯ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างการเลี้ยงปลากับการทำนาซึ่งถือว่าเป็นวิถีชีวิตของบรรพบุรุษเราที่มีคำขวัญที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ก็เป็นการพึ่งพาอาศัยกันได้ ระหว่างการทำได้ทั้ง 2 อย่างคือการเลี้ยงปลาและทำนาไปด้วยกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกร และพี่น้องประชาชนทั่วไปนอกจากนั้นโครงการนี้ยังเป็นวิถีชีวิตเกษตรพอเพียง ที่ไม่ใช้สารเคมี เป็นเกษตรอินทรีย์ ก็ถือว่าจะเป็นประโยชน์ในเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นเป็นมิตรกับสุขภาพร่างกายของเกษตรกรอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันเราจะทราบดีว่าสารเคมีเป็นตัวก่อให้เกิดโรคมะเร็ง อันนี้ถือว่าเป็นโครงการที่ดี ที่เป็นประโยชน์โดยตรง นอกจากนั้นจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ลดรายจ่ายซึ่งถ้าโครงการนี้เป็นโครงการเริ่มต้น ถ้าสามารถที่จะทำได้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ก็สามารถเป็นโครงการศูนย์เรียนรู้ให้กับพี่น้องประชาชนทั่วไปที่จะได้เข้ามาศึกษาและใช้วิธีนี้ไปปรับใช้กับการทำการเกษตรของแต่ละครอบครัวต่อไปในอนาคต
ด้านอาจารย์ปัญญาฯ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เราก็ยินดีสนับสนุนชุมชนโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ด้วยนะครับ คือการทำเกษตรอินทรีย์ จุดตายอยู่ที่ต้องมีเทคโนโลยี ถ้าเกิดไม่มีเทคโนโลยีค่อนข้างจะเหนื่อย แล้วแต่สถานการณ์ การที่เกษตรกรมีอายุสูงมากขึ้น และจำเป็นต้องมีเครื่องจักรกลในการทำงาน เราก็ยินดีสนับสนุนรถหย่อนกล้าให้นะครับ การสนับสนุนมี 2 แบบคือทั้งเครื่องจักรและก็ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนให้อีกด้วย ผมเองได้คุยกับทางต่างจังหวัด ว่าถ้าเป็นไปได้ให้ร่วมมือกับทางอาชีวะท้องถิ่น เรายินดี transfer คือถ่ายทอดทางเทคโนโลยีให้เพื่อให้ชุมชนสามารถที่จะผลิตเครื่องจักรและซ่อมบำรุงเองได้ในท้องถิ่น อันนี้เป็นเรื่องใหม่มากทั้งประเทศไทยเผลอๆอาจจะมีไม่กี่ที่ ที่ทำแบบนี้ได้ ถ้าทำได้ก็คือความยั่งยืน ที่น่าสนใจคือเกษตรอินทรีย์ที่นี่ เขาใช้วิธีเลี้ยงปลาปลานี่แหละ ที่กำลังว่ายอยู่ในน้ำแห่งนี้ เป็นดัชนีชี้วัดได้เลย ว่าถ้าเกิดคุณใช้สารเคมีเมื่อไหร่ ปลามีความเสี่ยงที่จะตาย วิธีการเลี้ยงปลาในนาข้าวของที่นี่ จะเป็นการในการพิสูจน์อันหนึ่งว่าที่นี่ใช้ทำนาอินทรีย์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์นี่คือตัวอย่างนึ่งที่ดีครับ”
ด้านนายธานินท์ฯ ในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งโครงการฯ เปิดเผยว่า” ถ้าเป็นแนวความคิด ผมย้อนกลับไปสมัยผมเป็นเด็ก ตอนที่ผมเป็นเด็กผมได้อยู่กับพื้นนาแปลงนี้ และได้ออกมาหาปลา ไปทำอาหารให้เลี้ยงน้องๆ แต่ปัจจุบันนี้เนื่องมาจากสารเคมี ได้เข้ามาที่เกษตรกร มีการใช้สารเคมีกันมากจนเกินไป จนทำให้ระบบนิเวศมันหายไป ผมก็เลยมีแนวคิดว่าทำยังไงให้มันกลับมาคืนสู่สภาพเดิมให้ได้ ในปัจจุบันการเลี้ยงปลาในนามีอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยากำจัดแมลงศัตรูพืช และถูกศัตรูพืชรบกวน ประเทศไทยเราแม้จะมีที่ทำนาที่อยู่ในระบบชลประทานที่ดีถึง 31,000 ตารางกิโลเมตร แต่การเลี้ยงปลาในนาข้าวก็ยังไม่ค่อยมีผู้นิยมเท่าที่ควร เพราะชาวนาพบปัญหาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งการจัดโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ
1.เพื่อเป็นวิถีการเกษตรแบบยั่งยืน ด้วยการบริหารพื้นนาให้ได้ประโยชน์อย่างเหมาะสม แล้วเติบโตสู่ประโยชน์สูงสุด
2.เป็นโครงการตัวอย่างที่จะนำวิถีอินทรีย์เข้ามาฟื้นฟูระบบนิเวศในนาข้าว
3.ฟื้นฟู ผืนดินให้กลับมามีความสมบูรณ์ด้วยการเกษตรแบบอินทรีย์
4.ให้คนไทยมีข้าวมีปลาและอาหาร ที่ปลอดสารพิษและมีสุขภาพที่ดี
และกลุ่มเป้าหมาย คือประชาชนในพื้นที่อำเภอ ไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชช รวมทั้งประชาชนทั่วไปและพ่อค้าในธุรกิจการเกษตร” นายธานินท์ กล่าวทิ้งท้ายในที่สุด
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน