พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ประมาณ 8-9 เดือนในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2399 และพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์
ชวนท่องเมืองประวัติศาสตร์ “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” จ.ลพบุรี
ชวนท่องเมืองประวัติศาสตร์
“พระนารายณ์ราชนิเวศน์” จ.ลพบุรี
กระแสละคร บุพเพสันนิวาส ทำเอาทุกคนอินจัด สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และโบราณสถานจึงพลอยได้รับผลในเชิงบวกไปด้วย วันนี้ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ ์5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี พร้อมด้วยประชาสัมพันธ์คนสวย เก่งทั้งหลายด้านทั้งพิธีกร ก็เก่ง ก็คนนี้ล่ะ ใครๆก็รู้จัก น้องโิอ๋ น.ส.จันทิมา พูลสวัสดิ์ ประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ได้แต่งชุดไทย ย้อนอดีต เข้าวัง ชมเมืองประวัติศาสตร์ เลยอยากพามาเที่ยวใกล้เมืองลพบุรี ที่ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จ.ลพบุรี สถานที่แห่งนี้จะมีสิ่งใดน่าสนใจและน่าค้นหา ตามเรามาเที่ยวเลย
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ หรือที่ชาวเมืองลพบุรีเรียกกันติดปากว่า วังนารายณ์ เป็นพระราชวังโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่แสดงถึงความรุ่งเรืองสูงสุดสมัยหนึ่งของเมืองละโว้ ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้จัดแสดงโบราณวัตถุ และภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
น.ส.จันทิมา พูลสวัสดิ์ ประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ได้เปิดเผยกับ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ตอนหนึ่งว่า
ตามประวัติ วังนารายณ์ สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2209 สำหรับใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จสวรรคต สถานที่แห่งนี้ก็หมดความสำคัญและถูกปล่อยทิ้งร้างตั้งแต่นั้น กระทั่งได้รับการบูรณะ ฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รวมถึงมีการสร้างพระที่นั่งพิมาณมงกุฎและหมู่ตึกพระประเทียบ ทรงพระราชทานนามว่า “พระนารายณ์ราชนิเวศน์” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ในปีพ.ศ. 2504
ด้านในพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 เขต ได้แก่
เขตพระราชฐานชั้นนอก
สิบสองพระคลัง
อ่างเก็บน้ำประปา (อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก) เป็นระบบการจ่ายทดน้ำของชาวฝรั่งเศส เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในพระราชวัง
หมู่ตึกพระคลังศุภรัตน์ (สิบสองท้องพระคลัง) เป็นพระคลังเก็บสินค้า และสิ่งของที่ใช้ในราชการ
ตึกพระเจ้าเหา เป็นหอพระประจำพระราชวัง มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ด้านในตึก เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้คือ พระเจ้าเหา
ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง
ตึกเลี้ยงต้อนรับแขก ตึกเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากต่างประเทศ ล้อมรอบด้วยสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ถึง 3 สระ
โรงช้างหลวง เป็นที่อยู่ของช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนารายณ์ฯ และเจ้านายชั้นสูง สำหรับใช้ในราชการ หรือเสด็จประพาสป่า โรงช้างส่วนใหญ่เหลือเพียงซากปรักหักพัง แต่ยังปรากฏส่วนฐานให้เห็นเพียง 10 โรง เท่านั้น
เขตพระราชฐานชั้นกลาง
พระที่นั่งจันทรพิศาล ที่ประทับออกว่าราชการแผ่นดินและประชุมองคมนตรี ปัจจุบันมีห้องจัดแสดงภาพประวัติศาสตร์และบุคคลสำคัญต่างๆ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ภาพวาดรูปเหมือนขุนศรีวิศาลวาจา (หมื่นสุนทรเทวา) ภาพเขียนเจ้าพระยาโกษาปาน ภาพคณะทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยที่ 14 ภาพราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ เป็นต้น
พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท
พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งท้องพระโรง สำหรับเสด็จออกต้อนรับคณะราชทูตต่างประเทศ มีศิลปกรรมแบบไทยผสมผสานฝรั่งเศส
หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ
หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ ประกอบด้วยพระที่นั่ง 4 องค์ เชื่อมหากัน คือ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ / พระที่นั่งสุทธิวินิจฉัย เป็นท้องพระโรงเสด็จออกว่าราชการ / พระที่นั่งไชยศาสตรากร เป็นที่เก็บอาวุธ / และ พระที่นั่งอักษรศาสตราคม เป็นที่ทรงพระอักษร
ทิมดาบ สร้างสมัยรัชการที่ 4 เป็นที่พักของทหารรักษาการณ์
โดย พระที่นั่งพิมานมุงกุฎ จะเป็นอาคาร 3 ชั้น ใช้เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับการพัฒนาเมืองลพบุรี ไขข้อสงสัยทุกเรื่องตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยปัจจุบัน ดังนี้
– ชั้นที่ 1 จัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุราว 3,500-4,000 ปี เช่น ภาชนะดินเผารูปวัว โครงกระดูกมนุษย์ ขวานหิน ขวานสำริด จารึกโบราณ เครื่องประดับจากเปลือกหอย เป็นต้น
– ชั้นที่ 2 จัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ที่พบในลพบุรี ช่วงที่ความเจริญของศิลปะเขมรมีอิทธิพลในไทย เช่น ทับหลังแกะสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระพุทธรูปนาคปรก เทวรูปต่างๆ ตลอดจนเครื่องถ้วยกระเบื้องทั้งของจีน และไทย
– ชั้นที่ 3 เดิมเป็นห้องบรรทมของรัชกาลที่ 4 จัดแสดงเหมือนครั้งที่ยังประทับอยู่ มีพระแท่นบรรทม ฉลองพระองค์ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ เหรียญเงินต่างๆ เครื่องแก้ว เครื่องประกอบโต๊ะพระกระยาหารที่มีตราประจำพระองค์(มงกุฎ) เป็นต้น
เขตพระราชฐานชั้นใน
พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของสมเด็จพระนารายณ์ฯ ก่ออิฐถือปูนมุงหลังคากระเบื้องเคลือบแบบจีน
หมู่ตึกพระประเทียบ หมู่ตึกพระประเทียบ ตั้งอยู่หลังพระที่นั่งพิมานมงกุฎ เป็นตึกชั้นเดียว 2 หลัง ก่อด้วยอิฐปูน 2 ชั้น มี 8 หลัง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักของข้าราชการฝ่ายใน
สำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์
นอกจากนี้ บริเวณด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ ยังมีบ้านตึกเขียว หรือ สำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเคยเป็นจวนผู้ว่าราชการจังหวัดหลังแรกของลพบุรี เป็นสถานที่เก็บ หนังสือจินดามณี เล่มที่ 2 ไว้ให้ชมกันด้วย ส่วนเล่มแรกเก็บไว้ที่จดหมายเหตุ
น้องโิอ๋ น.ส.จันทิมา พูลสวัสดิ์ ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว รณรงค์ แต่งชุดไทยย้อนอดีต ท่องเมืองประวัติศาสตร์ บนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ใครสนใจเชิญ
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ วันเวลาเปิด-ปิด : เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00-17.00 น.
ที่ตั้ง : เขตตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ธเนศ วงศ์ใหญ่ ปิยะนนท์ สินศิริวงศ์วัชระ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี