ครบรอบ ๑๒๐ ปี จากอดีตอำเภอโพหวี สู่การเปลี่ยนแปลง เป็นอำเภอท่าวุ้ง ลพบุรี จนถึงปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาน่าศึกษา น่าค้นคว้า
อำเภอท่าวุ้ง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี แรกตั้งเป็นอำเภอชื่ออำเภอโพหวี อำเภอท่าวุ้งตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่นำเสนอต่อไปนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ ยุค ดังนี้
ยุคที่ ๑. อำเภอโพหวี ตั้งอยู่ที่บ้านคลองโพ ตำบลโพตลาดแก้ว (พ.ศ. ๒๔๔๒ – ๒๔๕๑)
ยุคที่ ๒. อำเภอโพหวี ตั้งอยู่ที่บ้านท่าวุ้ง ตำบลท่าวุ้ง (พ.ศ. ๒๔๕๒ – ๒๔๕๙)
ยุคที่ ๓. อำเภอท่าวุ้ง ตั้งอยู่บ้านท่าวุ้ง ตำบลท่าวุ้ง (พ.ศ. ๒๔๖๐ – ปัจจุบัน)
ยุคที่ ๑. อำเภอโพหวี ตั้งอยู่ที่บ้านคลองโพ ตำบลโพตลาดแก้ว (พ.ศ. ๒๔๔๒ – ๒๔๕๙)
เมื่อตั้งอำเภอท่าวุ้งในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ จังหวัดลพบุรี มีอำเภอร่วมสมัย อยู่ ๔ อำเภอ คือ
๑ อำเภอเมืองลพบุรี ๒ อำเภอโพหวี
๓ อำเภอสนามแจง (บ้านหมี่) ๔ อำเภอสระโบสถ์ (อำเภอโคกสำโรง)
(ภาพซ้ายมือเป็นภาพอาคารที่ว่าการอำเภอหลังแรก ที่สร้างประมาณปีพ.ศ. ๒๔๔๒ภาพอาคารขวามือเป็นอาคารที่กรมศิลปากรสร้างใหม่ ณ ที่เดิมในปีพ.ศ.๒๕๕๔ ตามแบบแปลนเดิมขยายกว้างขึ้น โดยเพิ่มยกพื้นใต้ถุนสูงและออกมุขคลุมบันได)
อำเภอโพหวีแรกตั้งอยู่ที่บ้านคลองโพ ตำบลโพตลาดแก้ว ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บนริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำลพบุรี (หันหน้าล่องตามน้ำ) ลักษณะอาคาร เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ยกพื้นกลางให้สูงขึ้นประมาณ ๓๐-๔๐ เซนติเมตร จากพื้นระเบียงรอบๆ ต่อมาหลวงพิจารณา (หร่ำ) นายอำเภอคนที่ ๒ เห็นว่าตั้งอยู่ใกล้ริมตลิ่งแม่น้ำลพบุรีมากเกินไปจึงขยับย้ายเข้ามา ๑๐ วาเศษ ส่วนรูปแบบอาคารเหมือนเดิม ไม่มีฝารอบขอบชิด เป็นศาลาโถงมักเรียกกันว่า “ศาลาหลวง” บางคนก็เรียกว่า “ศาลาตาหลวง” เพราะหลวงพิจารณา (หร่ำ)เป็นคนสร้าง และใช้ว่าราชการงานอำเภอ และเรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน
อำเภอท่าวุ้ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลพบุรี ๑๕ กม. ตั้งอยู่บนถนนสายหมายเลข ๓๑๑ สายลพบุรี-สิงห์บุรี เป็นอำเภอที่อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนกลุ่มที่ ๒ อันประกอบด้วย : จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดชัยนาทซึ่งศักยภาพและลักษณะทางกายภาพเป็นแหล่งผลิตอาหารทางการเกษตร โดยมีประเด็นทางยุทธศาสตร์ เป็นแหล่งผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การเชื่อมโยงการตลาดผลผลิตทางการเกษตรกับจังหวัดในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเหมาะสำหรับทำการเกษตร มีศักยภาพในการพัฒนาการผลิต และมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากมาย โดยมีวัดไลย์ และเขาสมอคอน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญตามประเด็นยุทธศาสตร์ เป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม
ภูมิประเทศของอำเภอท่าวุ้ง
อำเภอท่าวุ้งมีพื้นที่ประมาณ ๒๔๒ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๕๑,๗๖๓ ไร่ สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตร ทำนา และทำสวน มีแม่น้ำไหลผ่านสองสาย คือ
– แม่น้ำลพบุรี เป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางพุทรา อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ไปบรรจบกับแม่น้ำป่าสักที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้วไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดเดียวกัน
– แม่น้ำบางขาม(คลองบางขาม) รับน้ำจากพื้นที่อำเภอโคกสำโรง อำเภอบ้านหมี่ อำเภอหนองม่วง รวมเป็นลำบางขามหรือแม่น้ำบางขาม ไหลผ่านตำบลบ้านชี อำเภอบ้านหมี่ผ่านตำบลเขาสมอคอน ตำบลมุจลินท์ ตำบลบางลี่ไปสู่แม่น้ำลพบุรีที่ทิศตะวันตกของวัดมณีชลขันธ์ ตำบลพรหมาสตร์ อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
เขตการปกครอง
การปกครองท้องที่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๑ ตำบล ๑๒๘ หมู่บ้าน คือ
๑. ตำบลท่าวุ้ง ๑๒ หมู่บ้าน
๒. ตำบลบางคู้ ๑๕ หมู่บ้าน
๓. ตำบลโพตลาดแก้ว ๑๐ หมู่บ้าน
๔. ตำบลบางลี่ ๑๖หมู่บ้าน
๕. ตำบลบางงา ๑๓ หมู่บ้าน
๖. ตำบลโคกสลุด ๗ หมู่บ้าน
๗. ตำบลเขาสมอคอน ๑๓ หมู่บ้าน
๘. ตำบลหัวสำโรง ๑๕ หมู่บ้าน
๙. ตำบลลาดสาลี่ ๗ หมู่บ้าน
๑๐. ตำบลบ้านเบิก ๑๑ หมู่บ้าน
๑๑. ตำบลมุจลินท์ ๙ หมู่บ้าน
การปกครองท้องถิ่น
– เทศบาลตำบล ๕ แห่ง คือ
๑. เทศบาลตำบลท่าวุ้ง
๒. เทศบาลตำบลท่าโขลง
๓. เทศบาลตำบลโคกสลุด
๔. เทศบาลตำบลโพตลาดแก้ว
๕. เทศบาลตำบลบางงา
– องค์การบริหารส่วนตำบล ๗ แห่ง คือ
๑. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวุ้ง
๒. องค์การบริหารส่วนตำบลบางคู้
๓. องค์การบริหารส่วนตำบลบางลี่
๔. องค์การบริหารส่วนตำบลเขาสมอคอน
๕. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเบิก
๖. องค์การบริหารส่วนตำบลหัวสำโรง
๗. องค์การบริหารส่วนตำบลมุจลินท์
อาณาเขต
ทิศเหนือ จด อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี
ทิศใต้ จด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันตก จด อำเภอเมืองสิงห์บุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และอำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
ทิศตะวันออก จด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
อาชีพ
เนื่องจากอำเภอท่าวุ้งมีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยมีพื้นที่การเกษตรจำนวน ๑๕๐, ๕๕๓ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๙๘ ของพื้นที่ทั้งหมด เกษตรกรสามารถทำนาปีและนาปรังได้ปีละ ๒ ถึง ๓ ครั้ง
จำนวนประชากร (ณ วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๖)
มีประชากรทั้งสิ้น ๔๙,๘๖๓ คน ชาย ๒๓,๙๗๓ คน หญิง ๒๕,๘๙๐ คน จำนวนครัวเรือน ๑๕,๗๘๑ ครัวเรือน
การเกษตรกรรม
อำเภอท่าวุ้งมีพื้นที่การเกษตรแยกตามพืชเกษตรสำคัญ ดังนี้
๑ พื้นที่นาปลูกข้าว ๑๒๘,๐๒๖ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๕๗
๒ พื้นที่ปลูกไม้ผลและไม้ยืนต้น ๒,๒๑๕ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๒.๕๔
๓ พื้นที่ปลูกพืชผัก ๘๙๒ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๐.๖๗
๔ พื้นที่ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ๓๐๒ ไร่ คิดเป็นร้อยละ ๐.๒๓
๕ พื้นที่ปลูกข้าวปลอดสารพิษ จำนวน ๒,๕๐๐ ไร่
การอุตสาหกรรม
๑. โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก (ทุนจดทะเบียนน้อยกว่า ๑๐ ล้านบาท) จำนวน ๓ แห่ง
๒. โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (ทุนจดทะเบียนมากกว่า ๑๐๐ ล้านบาทขึ้นไป) จำนวน ๕ แห่ง
๓. โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาก(ทุนจดทะเบียนมากกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป) จำนวน ๑ แห่ง
การพานิชย์
มีธนาคาร จำนวน ๓ แห่ง คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การแกษตร (ธกส.)
สถานีบริการน้ำมัน
มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน ๑๕ แห่ง
สหกรณ์
มีสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๒ แห่ง คือ สหกรณ์การเกษตรท่าวุ้ง และสหกรณ์การเกษตรท่าโขลง
สถานที่การบริการ
๑. โรงแรม จำนวน ๔ แห่ง
๒. สถานบริการ ตามมาตรา ๓(๔) จำนวน ๑ แห่ง
ห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ
๑. ห้างโลตัส ๑ แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลบางงา
๒. ห้างโลตัส เอกเพรส ๑ แห่ง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ตำบลบางคู้
๓. ห้างเซเว่นอีเลฟเว่น ๔ แห่ง
ด้านการศึกษา มีข้อมูลดังนี้
๑. โรงเรียนระดับประถมศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน ๒๘ แห่ง
๒. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา รวมโรงเรียนขยายโอกาส จำนวน ๙ โรงเรียน
๓. โรงเรียนเอกชน จำนวน ๓ โรงเรียน
การศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดทั้งสิ้น ๓๒ วัด และศาลเจ้า ๒ แห่ง
การสาธารณสุข
มีการให้บริการด้านสาธารณสุขโดยสถานบริการ ดังนี้
๑. โรงพยาบาล ขนาด ๖๐ เตียง จำนวน ๑ แห่ง
๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชน จำนวน ๑๒ แห่ง (อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข ๑๑ แห่ง อยู่ในความรับผิดชอบของการปกครองท้องถิ่นในรูปองค์การบริหารส่วนตำบลเขาสมอคอน ๑ แห่ง)
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
มีสถานีตำรวจภูธร ๓ แห่ง คือ
๑. สถานีตำรวจภูธรท่าวุ้ง
๒. สถานีตำรวจภูธรท่าโขลง
๓. สถานีตำรวจภูธรบ้านเบิก
โบราณสถาน และ สถานที่ท่องเที่ยว
วัดไลย์ เป็นวัดตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางขาม ในเขตเทศบาลตำบลท่าโขลง ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง มีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น พระวิหารซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้น มีลักษณะเจาะช่องผนังแทนหน้าต่าง ภายในมีพระประธานขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ลงรักปิดทอง มีซุ้มเรือนแก้วแบบพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ด้านหน้าและด้านหลังของพระวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องทศชาติ และเรื่องปฐมสมโพธิ ซึ่งนับว่าเป็นภาพประติมากรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ที่มีความสำคัญยิ่งชิ้นหนึ่งของชาติ นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถ และวิหารรูปมณฑปยอดปรางค์อยู่ใกล้ๆ กับพระวิหารและพิพิธภัณฑ์ประจำวัด ซึ่งมีของเก่ามากมายให้ชม เช่น พระพุทธรูป เครื่องหมาย เครื่องลายคราม เครื่องมือ เครื่องใช้โบราณ และอื่นๆ อีกมากมาย ประเพณีที่สำคัญ คือประเพณีชักพระศรีอาริย์ หรือพระศรีอาริยเมตไตร วัดไลย์ ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๖ ของทุกปี
เขาสมอคอน : เขาสมอคอนอยู่ในเขตหมู่ที่ ๒ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง ไปทางทิศตะวันตกของเส้นทางสายลพบุรี-สิงห์บุรี ถึง กม.ที่ ๑๘ เลี้ยวขวาไปอีก ๑๒ กม. จะมีป้ายบอกเส้นทางไปจนถึงเขาสมอคอน เขาสมอคอนเป็นเทือกเขาท่ีมีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ มีตำนานเกี่ยวกับเขาสมอคอนอยู่หลายเรื่องที่น่าสนใจจากหนังอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิต เล่ม ๒ พ.ศ.๒๕๒๖ หน้า ๑๖๕ กล่าวไว้ว่า “เขาสมอคอนนี้เป็นที่อยู่ของสุกกทันตฤาษี อาจารย์ของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช และพระยางำเมือง กษัตริย์เมืองพระเยา ซึ่งน่าจะเป็นราชวงศ์หนองแสโยนก เชียงแสน ทั้งสองพระองค์ เพราะเมื่อทรงพระเยาว์ ได้เสด็จมาศึกษาศิลปวิทยาท่ีเขาสมอคอนนี ซึ่งสมัยน้ันกษัตริย์เมืองลพบุรีก็เป็นราชวงศ์เดียวกัน” มีวัดที่เทือกเขาสมอคอนที่น่าสนใจดังนี้ : ๑ วัดเขาสมอคอน ๒ วัดถ้ำตะโก ๒ วัดถ้ำช้างเผือก ๔ วัดบันไดสามแสน และ ชาวอำเภอท่าวุ้ง ลพบุรี ได้จัดงาน ฉลองครบรอบ ๑๒๐ ปี อำเภอท่าวุ้ง ซึ่งเป็นงานใหญ่ ของอำเภอท่าวุ้งเลยทีเดียว ประชาชนชาวจังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง มาท่องเที่ยว๑๒๐ ปีอำเภอท่าวุ้ง ขอฝากประชาสัมพันธ์ การจัดงานครบรอบ “๑๒๐ปี จาก อดีตอำเภอ โพหวี สู่การเปลี่ยนแปลงชื่อในนาม อำเภอ ท่าวุ้ง”
ขอเชิญพี่น้องชาวท่าวุ้ง ลพบุรี และผู้สนใจรวมถึงจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมงานใน วันที่ ๗- ๘สิงหาคม ๒๕๖๒
ณ หน้าที่ว่าการอำเภอท่าวุ้ง จ.ลพบุรี
อาหารโบราณฟรีในงานครับ
แวะชมโบราณสถานใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้อีกจุดครับ ชื่อ วัดประดู่ ใกล้กับตลาดท่าวุ้ง แหล่งท่องเที่ยวอำเภอท่าวุ้งจังหวัดลพบุรี นั้น มีอยู่มากมายในพื้นที่อำเภ..อท่าวุ้ง ทางวัดโบราณสร้างในสมัยต้นอยุธยา ก็มี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็มี ชาวอำเภอท่าวุ้งจังหวัดลพบุรีคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวอำเภอท่าวุ้งเป็นอำเภอหนึ่งที่ที่มีวัตถุโบราณมากมายน่าศึกษา เชิงธรรมชาติก็มี เป็นอำเภอเล็กๆแต่แต่มีคุณภาพชาวอำเภอท่าวุ้งยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดขอต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในอำเภอท่าวุ้ง ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ประชาชนทั่วประเทศและจังหวัดใกล้เคียงมาท่องเที่ยวกันมามาท่องเที่ยวกันเยอะๆนะครับ . ธเนศ วงศ์ใหญ่ สนอง แท่นสูงเนิน ไพรัตน์ ทองแก้ว ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี