เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2562 ณ เลดี้มัชรูมฟาร์ม หมู่ที่ 6 ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา พล.อ.ต.มนูธรรม เนาว์นาน รอง ผอ.ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 2 กอ.รมน.(ส่วนกลาง) เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ“กัญชาทองคำเขียว”และการแต่งตั้งประธานจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้ง 20 จังหวัด โดยมี นายชัชวาล วงจร ประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต้อนรับและวัตถุประสงค์ในการจัดงาน ต่อจากนั้นทาง ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารเครือข่ายฟาร์มสุขใจ เครือข่ายวิจัยฯ สมาพันธ์วิจัยฯ วิทยากร และสมาชิกผู้ร่วมอบรมสัมมนาฯ ซึ่งประกอบด้วย คุณดิชฐ์พิเชษ สุวรรณโพธิ์ ประธานโครงการฟาร์มสุขใจ และประธานบริหาร บมจ.ฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม คุณนงนุช บัวใหญ่ CEO บริษัท ฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด(มหาชน ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประธานสมาพันธ์วิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย นายสมชัย แสงทอง รองประธานสมาพันธ์ฯ หัวหน้าภาคเหนือ นางนิตยา นาโล รองประธานสมาพันธ์ฯ หัวหน้าภาคเหนือ นางธนภัทร์ พันธวาส ประธานเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไทย พท.อิ่ม ฐาโอษฐ์ แพทย์แผนไทย 4 สาขา และผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์สำอาง พท.กฤตนัน พันธุ์อุดม (หมอบอย) กรรมการสภาแพทย์แผนไทย “ครูกัญชา” เภสัชกรคมสัน ธีรานุรักษ์ กรรมการสภาแพทย์แผนไทย วิทยากรครูผู้อบรม “กัญชา” พท.ผ.วดี พันธุ์อุดม แพทย์แผนไทยผดุงครรภ์ไทย ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ผอ.และหัวหน้าคณะวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ร่วมเป็นวิทยากร บรรยายถึงแนวทางการเพาะปลูกและดูแลรักษา แนวทางการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุง หรือสั่งจ่ายตารับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ได้ ตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้(16 ตำรับ)ตำรับยาที่มีประสิทธิผล มีความปลอดภัย วิธีการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อนตัวยาหาไม่ยาก และมีสรรพคุณตำรับที่แก้ปัญหาสาธารณสุข
ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประธานสมาพันธ์วิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย กล่าวว่า สัมมนาเชิงปฏิบัติการ“กัญชาทองคำเขียว”และการแต่งตั้งประธานจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในครั้งนี้ก็หวังเพื่อเตรียมการรองรับกฎหมายลูก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกัญชา 2562 เพราะถ้าระเบียบแบบเดิมยังไม่เกี่ยวกับกฎหมายลูกที่กำลังจะออกมา ทาง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” ประสานงานกับทางหน่วยงานของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยของรัฐ เพื่อทำการวิจัยและปลูกกัญชา โดยหน้าที่การปลูกนั้นคือ “เกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน” เราจึงได้รวบรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้งภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ เอาไว้ในการเตรียมการปลูกเอาไว้แล้วภาคละ 500 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมเป็น 2,000 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทางตนจึงได้ประสานงานขอความร่วมมือกับทาง “บริษัทฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด(มหาชน) จัดนำเอาประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 4 ภาค มาสัมมนาเชิงปฏิบัติการกับทาง ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ผอ.และหัวหน้าคณะวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา มาสอนแนวทางการเพาะปลูกและดูแลรักษา แนวทางการแปรรูปและผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพ การแพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุง หรือสั่งจ่ายตารับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ได้ ตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้(16 ตำรับ)ตำรับยาที่มีประสิทธิผล มีความปลอดภัย วิธีการผลิตไม่ยุ่งยากซับซ้อนตัวยาหาไม่ยาก และมีสรรพคุณตำรับที่แก้ปัญหาสาธารณสุข นอกจากนั้นแล้วก็ยังให้ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแต่ละกลุ่มได้คัดเลือกกันเองภายในจังหวัดนั้น ๆ เสนอชื่อแต่งตั้งเป็นตัวแทนในนาม “ประธานกัญชาจังหวัด” ต่าง ๆ ของภาคอีสาน ทั้ง 20 จังหวัด
ประธานสมาพันธ์วิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย กล่าวอีกว่า ตอนนี้เกษตรกรโดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หลายคนเคย “ปลูกกัญชา” ทั้งแบบในโดมและนอกโดมทุกคนก็ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ปลูกนอกโดมจะมีดอกและสารทางยามากกว่าปลูกในโดม เพราะได้สัมผัสอากาศ ดิน ลม น้ำ แบบธรรมชาติ ถ้ากฎหมายลูกของ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมกัญชา 2562 ออกมาให้เกษตรกรปลูกกัญชาแบบพืชผักสวนครัว หรือต้นไม้ทั่วไปซึ่งจะเป็นการดี เพราะเป็นการลดต้นทุนของการดำเนินการปลูกและเกษตรกรเองก็ชำนาญการเป็นอย่างมากอยู่แล้วในการปลูกกัญชาแบบธรรมชาติ ถ้ากฎหมายลูกออกมาแบบนั้น ก็จะทำให้ “กัญชา” กลายสภาพมาเป็น “ทองคำเขียว” เป็นพืชเศรษฐกิจของเกษตรกรไทยเป็นอย่างดี
ทศพร ก้อนแก้ว/ ข่าว รายงาน