วันที่ 4 กรกฎาคม 2562 มีบทความ #บทวิเคราะห์ กองทัพ หลังเปลี่ยนถ่าย จากขั้วอำนาจเก่า “บูรพาพยัคฆ์” สาย #พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ,#พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา และ #พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่พยายามสืบทอดอำนาจ หันมาจับขั้วการเมือง เป็น นายกรัฐมนตรี รอบสอง #“รัฐบาล ตู่ 500” ก็ยังประเมินว่าจะสามารถควบคุมกองทัพ ให้ซ้ายหัน ขวาหัน ได้ตามอำเภอใจอีก และเมื่อประกาศคณะรัฐมนตรีใน รัฐบาลชุดใหม่เข้าทำหน้าที่ เรียบร้อย ก็หมายถึง การล่มสลายของ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อำนาจ ม.44 หายไปสูญสิ้นในพริบตา ทหารอาชีพ ที่ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับ ความวุ่นวายทางการเมือง กลับกรมฯ,กอง และที่ตั้ง รับใช้ประชาชน ประเทศชาติ ปกป้องสถาบันฯ อันเป็นที่รักและเคารพ อย่างแท้จริง สมชายชาติทหาร
สื่อต่างชาติประเมินวิเคราะห์ ขั้วอำนาจของ “กองทัพไทย” ที่เริ่มห่างไกลจาก “ยุทธ์ 500-ป้อม นาฬิกายืมเพื่อน-แหวนแม่” หันมาเป็น “ทหารอาชีพ ที่จะเสียสละ ปกป้องสถาบันสูงสุดของประเทศ”
สื่อนิกเกอิเอเชี่ยนรีวิววิเคราะห์ กองทัพไทยกำลังเปลี่ยนแปลง ระบุ “ขั้วอำนาจ”ย้ายไปอยู่ในมือทหารสายทหารอาชีพ “วงศ์เทวัญ”นำโดย #”พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงศ์ “ ผู้บัญชาการทหารบกอ้างอิง ความเห็นจากอดีตนักการทูต ทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง
#มาร์วัน มาคาน มาร์คา ผู้สื่อข่าวในภูมิภาคเอเชีย ของสื่อ นิกเกอิเอเชี่ยนรีวิว เผยแพร่บทความชื่อ All the king’s men: Thai military power shifts away from Prayuth เมื่อ 2 ก.ค. 2562 โดยเสนอความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ ว่ามีความเปลี่ยนแปลงในกองทัพไทย มีการย้ายขั้วอำนาจไปจากเครือข่ายพวกพ้องของ #“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”นายกรัฐมนตรี รอบสอง พร้อมแจกแจงสัญญาณ บ่งชี้ความเปลี่ยนแปลงในแง่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
บทความระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองไทย เพิ่งจะเปลี่ยนผ่านจากการปกครองโดย#คณะรัฐประหาร ไปสู่ ความพยายามจัดตั้งรัฐบาล กึ่งพลเรือน และ พล.อ.ประยุทธ์ ได้กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่ขั้วอำนาจในกองทัพที่เคยสนับสนุนเขา ไม่ได้อยู่ในสถานะเดิม เพราะบทบาท ในการตัดสินใจโยกย้ายทหาร หรือการกำหนดนโยบายต่างๆ ในกองทัพซึ่งเคยอยู่ในมือทหารสาย “บูรพาพยัคฆ์”กำลังย้ายไปอยู่ กับทหารสาย “วงศ์เทวัญ”มากขึ้น
บทความได้อ้างถึง #พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ.คนปัจจุบัน และ#ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 (ผบ.ฉ.รอ.904 ) หนึ่งในทหารสาย “วงศ์เทวัญ” ผู้มีความเชื่อมโยงกับ กองพลทหารราบที่ 11 จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงนำไปสู่แผนย้ายหน่วยทหารออกนอกกรุงเทพฯ ซึ่งดำเนินการไปบ้างแล้วในระยะแรกของช่วงเวลา 15 เดือนที่ผ่านมา
พล.อ.อภิรัชต์ ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ส่วนผู้ที่ถูกวางตัวให้เป็น ผบ.ทบ.คนต่อไป จาก พล.อ.อภิรัชต์ คาดว่าจะคงหนีไม่พ้น พล.ท. ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ แม่ทัพภาคที่ 1 คนปัจจุบัน ที่มีความสนิทชิดเชื้อกันมา และทำงานเข้าขากัน
สัญญาณการเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งในกองทัพ คือ การอนุมัติคำสั่งซื้อรถเกราะล้อยาง M.1126 STRYKER จากกองทัพสหรัฐอเมริกา มากว่าที่จะใช้บริการของประเทศจีน ,รัสเซีย และยูเครน ที่ยังมีเรื่องค้างคาอยู่ เพื่อนำไปใช้ในกองพลทหารราบที่ 11 จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งแหล่งข่าว ที่เป็นนายทหารระดับสูงในกองทัพไทย แต่ไม่ประสงค์จะออกนาม กล่าวสนับสนุนว่าเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ เพราะในเชิงยุทธศาสตร์แล้ว ฉะเชิงเทรา มีชัยภูมิที่ดี ใกล้กับท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าเรือแหลมฉบัง ทั้งยังใช้เวลาในการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไม่นาน
นิกเกอิเอเชี่ยนรีวิวยังได้สัมภาษณ์ “สุณัย ผาสุข” ที่ปรึกษาขององค์การระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ‘ฮิวแมนไรท์วอทช์’ ซึ่งมองว่าการย้ายหน่วยทหารออกนอกกรุงเทพฯ คือการสร้างแนวอาณาเขตใหม่ของกองทัพ โดยมีเครือข่ายทหารสายวงศ์เทวัญเป็นศูนย์กลาง
อาจกล่าวได้ว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นความพยายามที่จะลดบทบาททหารสาย”บูรพาพยัคฆ์” ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในกองทัพและแวดวงการเมืองไทยตลอดระยะเวลา 12 ปี ที่ผ่านมา โดยทหารบูรพาพยัคฆ์คนสำคัญในปัจจุบัน คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.กระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีความใกล้ชิดและได้รับความไว้วางใจจาก พล.อ.ประยุทธ์ อย่างมาก
ผู้ให้สัมภาษณ์ สื่อนิกเกอิเอเชี่ยนรีวิว รายอื่นๆ ได้แก่ เจมส์ ไวส์ อดีตเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการเมืองและหลักนิติรัฐไทย Thailand: History, Politics and the Rule of Law ระบุเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากองทัพไทย มีอำนาจในการบริหารจัดการกันเองภายใน โดยที่ฝ่ายบริหารประเทศ ฝ่ายนิติบัญญัติ และกระบวนการยุติธรรม ไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงได้
ส่วนความเห็นของ “พอล แชมเบอร์ส”นักวิชาการชาวต่างชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ของมหาวิทยาลัยนเรศวร รวมถึง “เกรกอรี วินเซนต์ เรย์มอนด์”นักวิชาการชาวออสเตรเลีย ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ อำนาจกองทัพไทย Thai Military Power: A Culture of Strategic Accommodation ต่างเห็นตรงกันว่า ปัจจัยที่ว่ามาทั้งหมด อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า จะเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นในแวดวงทหารไทย
ขณะที่ “กษิต ภิรมย์”อดีต รมว.ต่างประเทศของไทย ระบุว่าความเปลี่ยนแปลง ทางโครงสร้างอำนาจ ในกองทัพไทย ขณะนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ ทั้งยังอ้างว่า เกิดจากความประสงค์ ที่จะยุติความแตกแยกและการแบ่งฝักฝ่ายภายในกองทัพ ซึ่งจะนำไปสู่ “ยุคใหม่” ที่ทหารจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองและรัฐประหารอีก
ทำให้เห็นแนวทางการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในกองทัพ หลังจากที่ทหารอาชีพ เริ่มเปลี่ยนแปลง มองถึงอนาคตของประเทศชาติเป็นสำคัญ และกลับมาเข้ากรม กอง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และความขัดแย้งที่มีมา อยากเห็นคนไทย กลับมารักกันเป็นหนึ่งเดียว ร่วมกันสร้าง พัฒนาประเทศอย่างแท้จริง และจะไม่เป็นเครื่องมือในการแสวงหาผลประโยชน์ จากทหารอีกต่อไป
#กรพด 5 เหล่าทัพ
#หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ และ 5 FORCE TV
#ขอบคุณข้อมูลจาก voicetv.