เมื่อ เวลา 13.30 น. วันที่21 มิถุนายน 62 ที่ห้องประชุมพระปรางค์สามยอด ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลพบุรี นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “กระท้อนตะลุง”และแถลงข่าวการรับรองผล”กระท้อนตะลุง” เพื่อยื่นขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ชุมชนและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการต่อยอดเส้นทางการท่องเที่ยวของประเทศและส่งเสริมสินค้า GI ไทยอย่างยั่งยืนต่อไป
กระท้อนตะลุง เป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัดลพบุรีที่นิยมปลูกกันมากในตำบลตะลุง ตำบลงิ้วราย และ ตำบลโพธิ์ เก้าต้น ของอำเภอเมืองลพบุรี พื้นที่แห่งนี้ มีแม่น้ำลพบุรีไหลผ่าน มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และหน้าดินเป็นดินน้ำไหลทรายมูลหรือดินทรายหวานที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกกระท้อน ทำให้ผลผลิตกระท้อนที่ได้มีคุณภาพและรสชาติเป็น
ที่นิยมของตลาด แตกต่างจากกระท้อนที่ปลูกในพื้นที่อื่น โดยผลของกระท้อนตะลุง จะมีรูปทรงกลมค่อนข้างแป้น ผิวนอก
เรียบละเอียดและอ่อนนุ่ม มีขนนิ่มขนาดเล็ก เวลาสัมผัสคล้ายกำมะหยี่ เปลือกบาง ผลดิบสีเขียวขี้ม้า ผลสุกสีเหลืองนวล มี เนื้อและปุยเมล็ดค่อนข้างแห้งและนุ่ม เมล็ดยาวค่อนข้างลีบ สีน้ำตาลอ่อน รสชาติเนื้อและปุยเมล็ดหวาน และไม่มีรสฝาด
ด้วยลักษณะและความแตกต่างดังกล่าว จังหวัดลพบุรีจึงได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนกระท้อนตะลุงเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ (Geographical Indication) หรือสินค้า GI คำขอเลขที่ 59100141 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 และ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ขึ้นทะเบียนกระท้อนตะลุง เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือสินค้า GI แล้ว ตามทะเบียน
เลขที่ สช 61100109 ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2561 เพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาชื่อเสียงให้กับกระท้อน
ตะลุง
นอกจากนี้ จังหวัดลพบุรี โดยคณะกรรมการบริหารจัดการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “กระท้อนตะลุง” และ
คณะทำงานควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “กระท้อนตะลุง” ซึ่งมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัด
ลพบุรี เป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ เป็นคณะกรรมการฯ และคณะทำงานฯ ได้จัดให้มี
ระบบควบคุมภายใน (Internal Control) ซึ่งเป็นกระบวนการในการตรวจสอบและรับรองคุณภาพของกระท้อนตะลุง
ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงผลผลิต โดยผู้ผลิตและผู้ประกอบการค้าที่ผ่านการตรวจสอบจะได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา
สัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หรือตราสัญลักษณะ GI เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อกระท้อนตะลุงที่มีคุณภาพได้ ง่ายและมั่นใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยรักษามาตรฐานและคุณภาพของกระท้อนตะลุง ซึ่งระบบควบคุมภายในนี้ มี เกณฑ์ในการตรวจสอบ แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1. ด้านขอบเขตพื้นที่การผลิต เป็นการตรวจสอบพิกัด GPS และขอบเขตพื้นที่การเพาะปลูกว่า อยู่ในพื้นที่ตำบล
ตะลุง ตำบลโพธิ์เก้าต้น และตำบลงิ้วราย ของอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี หรือไม่
2. ด้านลักษณะพิเศษของกระท้อน เป็นการตรวจสอบสายพันธุ์และลักษณะพิเศษของกระท้อน โดยมีการระบุ
พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปุยฝ้าย พันธุ์อีล่า พันธุ์ทับทิม พันธุ์นิ่มนวล และพันธุ์กำมะหยี่ ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีลักษณะรูปทรง เปลือก
เนื้อ เมล็ด และรสชาติ ตามที่กำหนด ทั้งนี้ กระท้อนที่ผ่านการตรวจสอบจะต้องมีค่าความหวานอยู่ในช่วง 9-16 องศาบริกซ์
3. ด้านกระบวนการผลิต มีการตรวจสอบตั้งแต่การเตรียมต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพในตำบลตะลุง ตำบลงิ้วราย และ
ตำบลโพธิ์เก้าต้น ของอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี การปลูกอยู่ในวัสดุปลูกอย่างน้อย 2-3 เดือน ก่อนลงปลูก การ
เตรียมพื้นที่ปลูกและระยะห่างระหว่างต้น การเตรียมดิน การปลูก การดูแลต้นกระท้อนที่ปลูกใหม่ การให้น้ำการใส่ปุ๋ย
และการปรับปรุงดิน การตัดแต่งกิ่ง การห่อผลกระท้อน และการเก็บเกี่ยว
4. ด้านการบรรจุหีบห่อ เป็นการตรวจสอบรายละเอียดบนบรรจุภัณฑ์ ฉลาก หรือหีบห่อ การระบุชื่อ ที่อยู่
ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการค้าที่ติดต่อได้ และการบันทึกปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย
5. ด้านการผลิตและจำหน่าย เป็นการตรวจสอบการขึ้นทะเบียนสมาชิกผู้ผลิต/ผู้ประกอบการค้า และ
ผู้ประกอบการค้ารับซื้อสินค้าจากผู้ผลิตที่ขึ้นทะเบียนสมาชิกที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในปี 2562 นี้ จังหวัดลพบุรีร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีลง
พื้นที่ตรวจสอบกระบวนการผลิตและคุณภาพของกระท้อนตะลุง ในระหว่างวันที่ 10-13 มิถุนายน 2562 และได้
อนุญาตให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการค้า จำนวน 92 ราย เป็นผู้ผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่ง
บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หรือ GI โดยจะมีพิธีมอบหนังสือรับรองให้แก่เกษตรกรทั้งหมด ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 ซึ่ง
ตรงกับวันเปิดงาน “เทศกาลกระท้อนหวานและของดีเมืองลพบุรี” ครั้งที่ 28 ประจำปี 2562. ธเนศ วงศ์ใหญ่. ใจรัก. วงศ์ใหญ่. พีรพล ปานเกลียว. ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ. จังหวัดลพบุรี.