การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของการจัดพานไห้วครูยุคคสช.เข้าสู่ยุคสมัยสื่อโซเชี่ยลเข้าถึงการกล้าแสดงออกทางความคิดทางด้านการเมืองไทยของน้องๆนักเรียนมัธยมที่สร้างสรรค์ออกมาเช่นพานไหว้ครูรูปตาชั่งถามหาความยุติธรรมพายไหว้ครูเกี่ยวกับคะแนนการเลือกตั้งพานไหว้ครูรูปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตลอดจนสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองและรูปผู้นำของไทย
มันเป็นการสะท้อนในแง่มุมหนึ่งของการเสพสื่อการรับรู้การเข้าถึงการสนใจในการเมืองที่มีบทบาทใกล้ชิดกับการดำเนินชีวิตของพวกเขาและโหยหาคำตอบได้จากสังคม
ไม่เฉพาะพานประเพณีไหว้ครูของนักเรียนสุภาพบุรุษขาสั้นและสุภาพสตรีกระโปรงบานเสมือเข่าเท่านั้นประเพณีที่แสดงออกถึงความอยุติธรรมทางสังคมทางการเมืองตลอดจนข่าวสารที่น่าสนใจทันสมัยยังถูกหยิบยกมาใช้เป็นภาพประกอบในขบวนล้อการเมืองของประเพณีดัง“ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์“ ของสองมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ของไทยตั้งแต่จัดครั้งแรกเมื่อวันที่4 ธันวาคม2477 จนถึงปัจจุบันครั้งที่73 (9 ก.พ.2562) ซึ่งก็มีกิจกรรมสร้างสีสันไม่ว่าจะเป็นขบวนพาเหรดล้อการเมือง,การเชียร์,การแปรอักษรและการแข่งขันฟุตบอล
การแสดงออกดังกล่าวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริงของสังคมยุคปัจจุบันสิทธิเสรีภาพการโหยหาความยุติธรรมความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ผู้นำของประเทศไทยในแต่ละยุคสมัยไม่ใช่เฉพาะรัฐบาลพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาที่ต้องให้ความสนใจในเสียงสะท้อนดังกล่าวอย่างระเลียดอ่อนไม่ใช่หลงในอำนาจวาสนาที่มีอยู่จากลิ่วล้อที่ห้อมล้อมประจบสอพอลรายงานในอีกแง่มุมที่ผู้นำของประเทศมองไม่เห็นให้พยายามแก้ไขปรับปรุงและยอมรับในความคิดเหล่านั้นไม่ใช่แค่ใช้กำลังอำนาจบารมีอิทธิพลเข้าข่มขู่ผู้ที่เห็นต่างไปเสียหมด
การกล้าแสดงออกทางความคิดที่ถ่ายทอดออกมาจากพานประเพณีไหว้ครูล้อการเมืองและฟุตบอลประเพณีล้อการเมืองถือเป็นการถ่ายทอดทางความคิดที่กล้าหาญชาญชัยการแสดงออกถึงความสนใจในบ้านเมืองของเยาวชนของประเทศที่จะก้าวเติบใหญ่สู่คนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมให้คนรุ่นเก่าทำร้ายคนไทยกันเองประเทศชาติและให้พึงละลึกว่าไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้าได้ตลอดไป
ด้วยจิตคารวะ
ว่าที่พันตรีกรพดรุ่งหิรัญวัฒน์เขียน
15/6/2562