การรัฐประหารของไทย เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และล่าสุด วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในขณะนั้น นับเป็นครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ถือว่าเป็นการรัฐประหาร ที่มีมากที่สุดในโลก
ทำให้ต่างชาติ มองประเทศไทยว่า สังคมไทยพึ่งพิงการรัฐประหาร และการชุมนุมประท้วงในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดย นายโทรุ ทาคาฮาชิ บรรณาธิการข่าวประจำภาคเอเชีย “นิเกอิเอเชี่ยนรีวิว” สื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจการเมืองของญี่ปุ่น ได้ออกมาพูด เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2562 ว่า
“ความขัดแย้งทางการเมืองเป็น เรื่องปกติ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่การเมืองไทย มีลักษณะเฉพาะบางประการ ที่แตกต่างจากที่อื่นๆ นั่นคือ การที่ “สังคมไทยพึ่งพิงการรัฐประหาร และการชุมนุมประท้วงในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง แทนที่จะเผชิญหน้ากันด้วยการเลือกตั้งหรือการอภิปรายในระบบรัฐสภา ซึ่งถือเป็นวิธีการพื้นฐานในสภา ตามระบบประชาธิปไตยที่เป็นสากล “
เป็นการมองในมุมมองของต่างชาติที่มีต่อการแก้ปัญหาของไทย แต่ที่จริงแล้ว คนไทยมิได้ต้องการ หรือหาทางออกด้วยการขัดแย้งดังกล่าว โดยให้ทหารออกมาทำรัฐประหาร เพียงเพราะว่า ในอดีตที่ผ่านมา การทำรัฐประหารของผู้มีอำนาจบางคน แฝงไปด้วย ผลประโยชน์จากกลุ่มธุรกิจ กลุ่มนายธนาคาร ที่ได้ผลประโยชน์ จากการกระทำครั้งนี้ ไม่ว่า จะในเรื่อง ของ การให้สัมปทาน ที่ไม่ต้องแข่งขัน การจัดการงบประมาณแผ่นดิน รับทรัพย์กันไปแบบเนื้อๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ ร่ำรวยกันไป อันนี้ต่างหาก ที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบทอดกันมาของผู้มีอำนาจ นับเป็นข้อคิดเห็นอันหนึ่งที่เราควรตระหนัก ในการหาทางออก และแก้ปัญหาในความขัดแย้งดังกล่าว ให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์ เขียน
ขอขอบคุณ ข้อมูลภาพ สื่อประชาไท และ นิกเกอิเอเชียนรีวิว
วันที่ 10 มิถุนายน 2562