วันที่ 5 มีนาคมถือว่าเป็น “วันนักข่าว” ซึ่งถือกำเนิดมาจากวันที่นักข่าวรุ่นบุกเบิกหลายท่านได้ร่วมชุมนุมกันก่อตั้งสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยขึ้นมาเมื่อ 48 ปีที่แล้ว แต่ก่อนหน้านั้นหนังสือพิมพ์ทั้งหลายต่างให้ความสำคัญกับ “วันนักข่าว” กันเป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นวันหยุดการทำงานของบรรดากระจอกข่าวทั้งหลายจะเป็นที่ทราบกันดีว่าวันที่ 6 มีนาคม ของทุกปีจะไม่มีหนังสือพิมพ์ออกมาขาย ต่อมาเมื่อความต้องการในข่าวสารมีมากขึ้นชาวนักข่าวทั้งหลายได้มีการแอบออกหนังสือพิมพ์มาขายในวันที่ 6 มีนาคม ทำให้หนังสือพิมพ์อื่นจำใจต้องเลิกประเพณีนี้ไป เมื่อวันที่ 5 เป็นวันหยุดของนักข่าว สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้วันที่ 4 มีนาคมของทุกปี เป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่อที่วันรุ่งขึ้นจะได้จัดเฉลิมฉลองกันได้อย่างเต็มที่ ในการจัดงานประชุมใหญ่และงานเลี้ยงสังสรรค์ประจำปี แต่เดิมได้จัดที่บริเวณถนนราชดำเนินซึ่งบรรดาเหยื่อข่าวได้มาพบปะสังสรรค์กันที่ริมฟุตบาทถนนราชดำเนิน
เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาจำนวนสมาชิกของสมาคมได้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับถนนราชดำเนินได้เป็นถนนสายหลัก ที่มีผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมากสถานที่ของสมาคมจึงคับแคบและการจัดงานของสมาคมยังสร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลที่สัญจรไปมา การจัดการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมจึงต้องย้ายสถานที่ไปตามโรงแรมต่างๆ ต่อมาเมื่อสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยรวมเข้ากับสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยกลายเป็น “สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย” เมื่อ 3 ปี ที่ผ่านมาแต่ยังคงกำหนดให้วันที่ 4 มีนาคม เป็นวันประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมเช่นเดิม คณะกรรมการบริหารงานของสมาคมใช้เวลาในการปรับปรุงอาคาร ที่ทำการเดิมของสมาคมนักหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 2 ปี จึงลงมือก่อสร้างและปรับปรุงให้เสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายปี 2545 ที่ผ่านมา อาคารแห่งนี้นอกจากจะเป็นที่ทำการของสมาคมแล้ว ยังเป็น ที่ทำการขององค์กรด้านวิชาชีพสื่อมวลชนตั้งแต่ระดับชาติไปจนถึงระดับภูมิภาค เช่น สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สถาบันพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย เครือข่ายสนับสนุนสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย และเครือข่ายสนับสนุนสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนในเอเชียอาคเนย์ เป็นต้น เรียกว่าเป็นศูนย์รวมขององค์กรด้านวิชาชีพสื่อสารมวลชนไทย
ปัจจุบันข่าวสารข้อมูลกำลังกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต แต่ความจำเป็นดังกล่าวไม่ใช่เพียงเนื้อหาของข่าวเท่านั้น คนหนังสือพิมพ์ หรือนักข่าวก็มีความสำคัญ ในฐานะคนกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่านข่าวสารที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน ไปยัง ผู้อ่านด้วยเช่นกัน จึงเปรียบเทียบได้กับกระจกที่สะท้อนสังคมในทุกๆ ด้านไม่เฉพาะเจาะจงเพียงด้านเดียวในแวดวงหนังสือพิมพ์ มีผู้เรียกนักหนังสือพิมพ์หรือนักข่าว ว่า “ฐานันดรที่ 4″ ความหมายโดยนัยแล้วคือ ผู้ที่มีสถานะแตกต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือผู้ที่มีอภิสิทธิ์ในการขีดเขียนเรื่องราวต่างๆ ผ่านสื่อมวลชน บุคคลบางกลุ่มให้ความเห็นว่าไม่ควรให้ความสำคัญ เพราะนักข่าวควรเป็นบุคคลที่อ่อนน้อมถ่อมตน สมถะก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตนเพื่อประชาชน เพื่อชุมชนและ เพื่อประเทศชาติโดยไม่มีการเรียกร้องอะไร ถ้ายังมี ” วันนักข่าว ” ก็แปลว่าเรายกตนเหนือคนอื่นถึงขนาดประกาศให้มีวันพิเศษขึ้นมาโดยเฉพาะ และในอดีตได้เคยกำหนดให้เป็นวันหยุดด้วย เป็นการให้ความสำคัญจนเกินเหตุ แต่บุคคลอีกกลุ่มกับให้ความเห็นที่ต่างไปว่า เหตุที่ให้มีวันนักข่าว และเน้นให้เห็นความสำคัญของวันนี้ ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อตัวนักข่าวเท่านั้น สิ่งที่ต้องการคือย้ำให้ทุกฝ่ายตระหนักว่า นักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์นั้น คือ ผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แทนประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ใช้ปากและใช้หน้ากระดาษแสดงความคิดเห็นแทนประชาชน
เป็นเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมานั้น วันนักข่าวค่อยๆ แปรโฉมไปสู่ความมีสาระมากขึ้น โดยเฉพาะที่ได้กำหนดให้เป็นวันหยุดของนักข่าวก็ได้ถูกล้มเลิกไป ปัจจุบัน “วันนักข่าว” เป็นวันที่ทำงานตามปรกติของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับมิใช่วันหยุดพักผ่อนอย่างเช่นที่แต่เดิมที่ผ่านมา ส่วนกิจกรรมที่ทำอยู่แล้วโดยเฉพาะการประกาศยกย่องหนังสือพิมพ์ หรือนักข่าว ช่างภาพ ที่มีผลงานดีเยี่ยมสมควรได้รับรางวัล อิศรา อมันตกุล ก็ยังคงมีต่อไป กิจกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่รุ่นพี่นักข่าวผู้ล่วงลับไปก็ยังคงมีอยู่เหมือนแต่เดิมที่ได้จัดทำกัน. ด้าน นายไพ แจ้งพลาย. นักข่าวทีวี.ช่อง NBTHD กรมประชาสัมพันธ์. ได้เปิดใจกับทีมข่าว. ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ.จังหวัดลพบุรี. และ. สำนักข่าวข่าวสืบสวน. เอาไว้ตอนหนึ่งว่า อุณห ภูมิร้อนเย็น. สามารถ วัดค่าเป็นตัวเลขได้. ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า. “บโรเมเตร” หรือเทอร์โมมิเตอร์. ความรู้ด้านเทคโนโลยี. ที่หมอบนัดเลย์
อุณหภูมิร้อนเย็นสามารถวัดค่าเป็นตัวเลขได้ ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า “บโรเมเตร” หรือเทอร์โมมิเตอร์ คือความรู้ด้านเทคโนโลยี ที่หมอบรัดเลย์ มิชชันนารีอเมริกัน ตีพิมพ์ลงในหนังสือจดหมายเหตุบางกอก หรือ The Bangkok Recorder จุลศักราช 1227 นำความรู้จากซีกโลกตะวันตกมาเผยแพร่ในสยามยุคปลายรัชกาลที่ 3 จดหมายเหตุของหมอบรัดเลย์ไม่เพียงเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยาม แต่ยังเป็นรากฐานงานสื่อสารมวลชนในไทย เริ่มต้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงดำริให้ตีพิมพ์ประกาศหลายฉบับสื่อสารกับประชาชน เช่น “ประกาศดาวหางขึ้นอย่าวิตก” ให้ข้อเท็จจริงชี้ให้ประชาชนเห็นว่าดาวหางเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ
นายไพ. แจ้งพลาย นักข่าวทีวีช่อง NBT HD สังกัดกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า การออกสื่อสมัยนั้นเหมือนการเล่าข่าว คนไทยยังรู้หนังสือไม่มาก มีผู้รู้ไปเล่าต่อ ยังไม่มีหนังสือพิมพ์ที่เป็นหลักฐานแท้จริง จนมาถึงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 4 มีเจ้านายออกหนังสือมากขึ้น ก็เป็นที่นิยมอ่าน หนังสือพิมพ์สมัยนั้นพิมพ์ไม่มาก คนอ่านก็นำมาเล่าให้ประชาชนฟัง
จุดเริ่มต้นของสื่อสารมวลชนในไทย เริ่มในสมัยรัชกาลที่ 4 ขณะที่ตอนนั้นสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ และมีบทบาทอย่างมากในเหตุการณ์สำคัญของโลก การทำหน้าที่ตีแผ่เรื่องราวทำให้สื่อมวลชนกลายเป็นกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนสังคม จากคนนำสาส์นจึงได้รับการขนานนามว่า “ฐานันดรที่ 4” คำๆ นี้เกิดขึ้นครั้งแรกในอังกฤษก่อนเผยแพร่ไปทั่วโลก
ด้วยสิทธิพิเศษที่ให้อำนาจสื่อมวลชนทำหน้าที่แทนประชาชน ติดตามและสอบถามการทำงานของกษัตริย์และเหล่าขุนนางในรัฐสภา ทำให้ในอังกฤษเปรียบอาชีพนักข่าวว่ามีสถานะเป็นฐานันดรที่ 4 ปลายปากกาของสื่อมวลชน ยังมีส่วนสำคัญในขับเคลื่อนการเมืองในฝรั่งเศสจนนำไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา มีการเผยแพร่แนวคิดต่อต้านการใช้ทาสในสังคมอเมริกันหลายสิบปี ผ่านสื่อ The Liberator และ North Star จนมีการประกาศเลิกระบบทาสในที่สุด ความรับผิดชอบต่อคำถาม การวิพากษ์วิจารณ์ และตีแผ่ความจริง คือบทบาทของฐานันดรที่ 4 ผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างทุกชนชั้นในสังคม
สมชาย เกตุฉาย.นักข่าว ททบ 5 HD กล่าวว่า ฐานันดรที่ 4 อยู่ตรงกลางระหว่าง 3 ฐานันดร ผู้ใช้อำนาจปกครองกับฐานันดรข้างล่าง คือ พ่อค้า ชาวบ้าน ชาวไร่ชาวสวน ฉะนั้น หน้าที่ของฐานันดรที่ 4 ตอนนั้นมีหน้าที่ตรวจสอบอำนาจของฐานันดรข้างบน ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง และเป็นตัวเชื่อประสานระหว่างฐานันดรบนกับล่าง
ขณะที่. นายสมชาย กล่าวถึงคำ “ฐานันดรที่ 4” ว่า แต่เดิมหมายถึงนักหนังสือพิมพ์ แต่ในปัจจุบันหมายถึงสื่อโทรทัศน์ วิทยุรวมเป็นสื่อสารมวลชนเข้ามาแทนที่
ปัจจุบันมีคำเปรียบเปรยสื่อว่าเป็นดังกระจกเงา ตะเกียง หรือยามเฝ้าประตู หากแต่จะด้วยความหมายใด หน้าที่หลักของสื่อมวลชนคือเป็นปากเสียงสะท้อนความจริง รักษาประโยชน์เพื่อส่วนรวม และที่สำคัญคือทำหน้าที่ด้วยความซื่อตรงต่อจรรยาวิชาชีพและจริยธรรม. เป็นต้น. ด้านนายใจรัก. วงศ์ใหญ่. ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ. จังหวัดลพบุรี. เจ้าของเพจ ข่าวสืบสวน. ได้เปิดเผยตอนหนึ่งว่า. ปัจจุบันข่าวสารข้อมูลกำลังกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต แต่ความจำเป็นดังกล่าวไม่ใช่เพียงเนื้อหาของข่าวเท่านั้น คนหนังสือพิมพ์ หรือนักข่าวก็มีความสำคัญ ในฐานะคนกลางที่ทำหน้าที่ส่งผ่านข่าวสารที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนไปยังผู้อ่านด้วยเช่นกัน จึงเปรียบเทียบได้กับกระจกที่สะท้อนสังคมในทุก ๆ ด้าน ไม่เฉพาะเจาะจงเพียงด้านเดียวในแวดวงหนังสือพิมพ์ มีผู้เรียกนักหนังสือพิมพ์หรือนักข่าวว่า “ฐานันดรที่ 4” ความหมายโดยนัยแล้วคือ ผู้ที่มีสถานะแตกต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไป หรือผู้ที่มีอภิสิทธิ์ในการขีดเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านสื่อมวลชน บุคคลบางกลุ่มให้ความเห็นว่าไม่ควรให้ความสำคัญ เพราะนักข่าวควรเป็นบุคคลที่อ่อนน้อมถ่อมตน สมถะ ก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตนเพื่อประชาชน เพื่อชุมชนและเพื่อประเทศชาติโดยไม่มีการเรียกร้องอะไร ถ้ายังมี “วันนักข่าว” ก็แปลว่าเรายกตนเหนือคนอื่นถึงขนาดประกาศให้มีวันพิเศษขึ้นมาโดยเฉพาะ และในอดีตได้เคยกำหนดให้เป็นวันหยุดด้วย เป็นการให้ความสำคัญจนเกินเหตุ แต่บุคคลอีกกลุ่มกลับให้ความเห็นที่ต่างไปว่า เหตุที่ให้มีวันนักข่าว และเน้นให้เห็นความสำคัญของวันนี้ ไม่ใช่เป็นการกระทำเพื่อตัวนักข่าวเท่านั้น สิ่งที่ต้องการคือย้ำให้ทุกฝ่ายตระหนักว่า นักข่าวหรือนักหนังสือพิมพ์นั้น คือ ผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญแทนประชาชนในระบอบประชาธิปไตย เป็นผู้ใช้ปากและใช้หน้ากระดาษแสดงความคิดเห็นแทนประชาชน
ทั้งนี้ วันนักข่าวค่อย ๆ แปรโฉมไปสู่ความมีสาระมากขึ้น โดยเฉพาะที่ได้กำหนดให้เป็นวันหยุดของนักข่าวก็ได้ถูกล้มเลิกไป ปัจจุบัน “วันนักข่าว” เป็นวันที่ทำงานตามปกติของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับมิใช่วันหยุดพักผ่อน. โลกข่าวสารมันหมุนไม่หยุดข่าวสารไม่มีวันหยุด. ข่าวสารมันเกิดขึ้นทุกเมื่อ ทุกนาที. อาชีพสื่อสารมวลชน มันไม่มีวันหยุด. ต้องหมุนตามโลกของข่าวสารตลอดไป. นายไพ. แจ้งพลาย. ได้เพิ่มเติมตอนท้ายว่า. นักข่าวออนไลน์” (Online Journalist/Data Journalist/Digital Journalist)
ในยุคที่เปลี่ยนไปโลกขับเคลื่อนด้วยสัมผัสเพียงปลายนิ้ว ทำให้อาชีพต่างๆ ต้องพัฒนาไปตามโลกที่หมุนเร็ว “นักข่าว” ก็เช่นกัน ถือได้ว่าเป็นอีกอาชีพที่จะต้องปรับตัวจาก “สื่อสิ่งพิมพ์สู่สื่อออนไลน์” เพื่อให้ผู้คนได้อัพเดทข่าวสารที่ถูกต้อง แม่นยำได้วินาทีต่อวินาที
อาชีพนี้สำคัญยังไง?
ในช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมมัลติมีเดียเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จากเว็บไซต์ Statista มีสถิติว่าภายในปี 2020 ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์จะเกินกว่า 2.94 พันล้านราย มีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ใช้ทั่วโลกจะเข้าถึงโซเชียลมีเดียในปี 2021 จำนวน 3.02 พันล้านราย และภายในปี 2022 จะมีเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียมากถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดในโลก ทำให้ “นักข่าวออนไลน์” เป็นอีกอาชีพที่น่าสนใจไม่น้อย
แม้ว่าจะเป็นยุคที่นักข่าวอาชีพจะต้องแข่งขันกับนักข่าวมือสมัครเล่นก็ตาม แต่ยิ่งข่าวมีความหวือหวามาเร็วไปเร็วมากเท่าใด นักข่าวมืออาชีพจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเท่านั้น เพราะเมื่อเกิดวิกฤติขึ้นมา คนจะหันไปหาสื่อมืออาชีพเพื่อหาคำตอบกับเรื่องที่ต้องการทราบอย่างแน่นอน
ใครเหมาะจะทำอาชีพนี้?
น้องๆ ที่มีคุณสมบัติชอบสังเกตการณ์เกี่ยวกับโลกรอบตัว ช่างสังเกตในรายละเอียดปลีกย่อย มีความรอบคอบ และชอบแบ่งปันให้กับคนอื่น นักข่าวออนไลน์ก็อาจเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะกับตัวเอง
ต้องเรียนคณะ/สาขาอะไร?
สำหรับคณะที่มีหลักสูตรตั้งแต่การฝึกเขียนข่าว ไปจนถึงฝึกจรรยาบรรณความเป็นนักข่าวซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับ “นักข่าวมืออาชีพ” ก็หนีไม่พ้นคณะนิเทศศาสตร์ นั่นเอง.
ใจรัก. วงศ์ใหญ่. ข่าว
สนอง แท่นสูงเนิน ภาพ. ศูนย์ข่าว 5 เหล่าทัพ. จ.ลพบุรี.