พิธีเปิดป้ายศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (ท่าโพธิ์) /และ เชิญร่วมพิธีเบิกรัศมี (ไคกวง) เจ้าพ่อหลักเมืองลพบุรี พร้อมด้วยพระปฏิมาและเทวรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ในวันที่ มกราคม๒๕๖๒ถึง วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๒ ผู้สื่อข่าวรายงาน. มาจากจังหวัดลพบุรีในวันนี้ว่า. วันพุธที่ ๙ มกราคม ๒๕๖๒. เมื่อเวลา ๑๐.๐๙ น มีพิธีเปิดศาลเจ้าพ่อหลักเมืองหลังใหม่. สุดยิ่งใหญ่. จุดประทัด ฉลองเปิดศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกว่า. เก้าล้านนัด. ดันดังสนั่น. นายสุปกิต โพธิ์ปภาพันธิ์. ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี. ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดศาลเจ้าพ่อหลักเมืองหลังใหม่. สุดยิ่งใหญ่. ตำบลท่าหิน. อำเภอเมือง. จังหวัดลพบุรี. โดยมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่. อาทิ นายผดุงศักดิ์. หาญปรีชาสวัสดิ์. รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี. นายบำรุง. รื่นบันเทิง. รอผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี. (รองสอง) พลตำรวจตรี สุนทร โตรอด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลพบุรี. พันเอก สมบัติ. มีสันเที๊ยะ รองเสนาธิการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ. พันเอก ณรงค์. จันทร์สืบสาย เสนาธิการมณฑลทหารบกที่ 13. ลพบุรี. และพ่อค้า. พุทธศาสนิกชน ไปร่วมพิธีอย่างคับคั่ง. อนึ่งสำหรับ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองลพบุรี. หลังใหม่.นีื สร้างแทนหลังเก่าที่. ชำรุดทรุดโทรม. ใช้งบประมาณก่อสร้างในครั้งนี้. กว่า 28 ล้านบาท. และใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี. จึงแล้วเสร็จและได้ทำพิธีเปิดป้ายศาลเจ้าพ่อหลักเมือง. ดังกล่าว. โดยมี.
นายสมโภชน์ ทำเสมอดี ประธานคณะกรรมการมูลนิธิลพบุรีสามัคคีสงเคราะห์. เป็นผู้กล่าวรายงาน. และกล่าวต้อนรับ. ศาลหลักเมือง คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่ตั้งของหลักเมือง ซึ่งตามธรรมเนียมพิธีของศาสนาพราหมณ์,ศาสนาพื้นบ้านแบบจีนหรือลัทธิเต๋าว่า ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น ศาลหลักเมืองในประเทศไทยส่วนใหญ่ทำจากไม้มงคล เช่น ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์ ในลักษณะเสา ปลายยอดเป็นดอกบัวตูม หรือหน้าเทวดา หรืออาจเป็นหลักหินโบราณ ใบเสมาโบราณ ที่พบในพื้นที่นั้นๆ ตัวศาลส่วนใหญ่เป็นศาลาจตุรมุขทรงไทย มีประตูทั้งสี่ด้าน ยอดอาจเป็นแบบปรางค์ แบบปราสาท แบบมณฑป หรือเป็นศาลเจ้าแบบจีน ตามศรัทธาการก่อสร้างในพื้นที่นั้น บางพื้นที่อาจพบร่วมกันทั้งเสาหลักเมือง และศาลเจ้าแบบจีน ซึ่งมักมีองค์ประธานศาลเจ้าเป็นเทวรูปไม้หรือศิลา เรียกว่า เจ้าพ่อหลักเมือง หรือเจ้าแม่หลักเมือง สถานที่ตั้งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า อาจเป็นตัวจังหวัด หน้าศาลากลางจังหวัด ในประเทศไทยจังหวัดส่วนใหญ่มีศาลหลักเมือง บางอำเภอก็มีศาลหลักเมือง ซึ่งยังคงเรียกว่า ศาลหลักเมืองเนื่องจากบางอำเภอก็เป็นเมืองเก่า ก่อนถูกลดฐานะลงเป็นอำเภอในปัจจุบัน ตามชุมชนเล็กๆ อื่นๆ ก็อาจมีศาลประจำชุมชนเหมือนกัน แต่จะเรียกเป็นศาลหรือเจ้าที่ประจำหมู่บ้าน ชุมชน.
นายสมโภชน์ ทำเสมอดี ประธานคณะกรรมการมูลนิธิลพบุรีสามัคคีสงเคราะห์. ได้เล่าประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง. ตอนหนึ่งว่า. ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองลพบุรี 华富里府城隍庙
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองลพบุรี เดิมเป็นศาลเทพารักษ์ ตั้งอยู่หน้าต้นโพธิ์ใหญ่บริเวณชุมชนท่าโพธิ์ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ประชาชนชาวไทยเชื้อสายจีนได้สร้างศาลตามศิลปะจีนขึ้นแทนศาลเดิม พร้อมอัญเชิญเทวรูปเจ้าพ่อหลักเมือง และเทวรูปเทพารักษ์ ตามอย่างศิลปะจีนขึ้นประดิษฐาน ถวายนามศาลตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง หรือเสี่ยอ่วงกงเบี่ย 城隍公庙
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้จัดสร้างต่อเติมเพื่อประยุกต์เป็นโรงเจในช่วงเทศกาลกินเจ และอัญเชิญพระพุทธปฏิมา พร้อมพระโพธิสัตว์ และเทวรูปสำคัญขึ้นประดิษฐานในห้องบูชาชั้นในถวายนามโรงเจว่า เซ่ง เต็ก ฮุก ตึ๊ง 诚德佛堂 ซึ่งหมายถึง พุทธสถานแห่งความศรัทธา โดยมีการประกอบกุศลบำเพ็ญบุญถือศีลกินเจ โปรยทานทิ้งกระจาด และกิจกรรมทางการกุศลเรื่อยมา
ในเดือน มิถุนายน ๒๕๕๗ คณะสาธุชนชาวไทยเชื้อสายจีน โดยมูลนิธิลพบุรีสามัคคีสงเคราะห์ ได้พิจารณาเห็นว่า ศาลเจ้าเก่ามีความทรุดโทรม และต่ำกว่าพื้นถนน จึงมีมติเห็นควรจัดสร้างศาลเจ้าหลังใหม่ โดยประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ จัดสร้างเป็นอาคารทรงจีน ๒ ชั้น ประกอบด้วยส่วนประกอบศาสนพิธีชั้นบน และพื้นที่อเนกประสงค์ชั้นล่าง ประกอบพิธีตั้งเสามังกร แท่นบูชาฟ้าดิน ในวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ สร้างสำเร็จในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยประกอบพิธีอาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทับแท่น เบิกพระรัศมี พระสงฆ์ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานจีนนิกาย เจริญพระพุทธมนต์สมโภช สำเร็จเป็นศาสนสถาน อันเป็นที่พึ่งเคารพของประชาชนทั้งหลาย สืบไป
ในระหว่างวันที่ ๙-๑๔ มกราคม ๒๕๖๒ นี้ ได้กำหนดให้มีงานพิธีเบิกรัศมีองค์เจ้าพ่อหลักเมือง ลพบุรี
ซึ่งเป็นงานมงคลครั้งยิ่งใหญ่ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองลพบุรี จึงขอเชิญประชาชนชาวจังหวัดลพบุรีมาร่วมงานพิธีโดยพร้อมเพรียงกัน
ใจรัก. วงศ์ใหญ่. ข่าว สมชาย. เกตุฉาย. ภาพ. ศูนย์ข่าว 5 เหล่าทัพ.จังหวัดลพบุรี.