เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561 เมื่อเวลา 09.09 น. ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อพระกาฬ อำเภอเมือง. จังหวัดลพบุรี. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลพบุรี. ชมรมอนุรักษโบราณ์วัตถุสถานและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลพบุรี. โดยมี อาจารย์ภูธร. ภูมะธน. อดีตประธานชมรมฯ. เป็นประธานในพิธีบวงสรวง เจ้าพ่อพระกาฬ. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลพบุรี. เนื่องในโอกาส.วันทำบุญเมืองลพบุรี. ซึ่งมี. พ.อ.ประชุม. สุขสำราญ. อดีตอายุอนุศาสน์จารย์หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ. ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช. เป็นเจ้าพิธีในพิธีดังกล่าว. ได้มีผู้สูงอายุ. ร่วมพิธีในครั้งนี้. มีอายุตั้งแต่ 100 ปี. 80 ปี. 60 ปี ีได้รับเชิญไปร่วมพิธีด้วย. และได้มีบรรดา พ่อค้าประชาชน. องค์กรต่างๆ มีดังนี้. อาจารย์ผ่องศรี. ธาราภูมิ. อดีตส.ส.ลพบุรี. นายเกียงไกร ธาราภูมิ. อดีตอดีตสมาชิกสภาองค์การมหาชนจังหวัดลพบุรีและอดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน.ดร.ปัญญา แก้วเหล็ก ศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี พิธีได้ดำเนินไปจนถึงเวลา. 10.30 น. เพิ่งเสร็จพิธี. . ศาลพระกาฬ หรือเดิมเรียกว่า ศาลสูง เนื่องจากศาลตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่อยู่สูงจากพื้นดิน เป็นศาสนสถานที่เป็นฐานศิลาแลงขนาดมหึมา สันนิษฐานกันว่าฐานศิลาแลงดังกล่าวเป็นฐานพระปรางค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ หรือสร้างสำเร็จแต่พังถล่มลงมาภายหลังโดยมิได้รับการซ่อมแซมให้ดีดังเดิม ศาลพระกาฬเป็นสิ่งก่อสร้างของขอม สืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของขอมโบราณ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางการปกครองของขอมในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อย่างไรก็ตามฌ็อง บวสเซอลิเยร์ ได้สันนิษฐานจากฐานพระปรางค์ที่สูงมากนี้ ว่าเขายังมิได้ข้อยุติว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอมโบราณพุทธศตวรรษที่ 16 “อาจเป็นฐานพระปรางค์จริงที่สร้างไม่เสร็จ หรือเสร็จแล้วแต่พังทลายลงมา” ทั้งนี้มีที่ศาลสูงมีการค้นพบศิลาจารึกศาลสูงภาษาเขมร หลักที่ 1[4] และศิลาจารึกเสาแปดเหลี่ยม (จารึกหลักที่ 18) อักษรหลังปัลลาวะภาษามอญโบราณ จากกรณีจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่หักพังนั้น พบว่าเสานี้ถูกทุบทำลายให้ล้มพังอยู่กับที่มิได้เคลื่อนย้ายมาจากที่อื่น จึงสันนิษฐานว่าศาลพระกาฬอาจเคยเป็นศาสนสถานของนิกายเถรวาทมาก่อน ภายหลังถูกดัดแปลงเป็นเทวสถานในนิกายไวษณพของศาสนาฮินดูแทน
รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงให้สร้างศาลเทพารักษ์ขนาดย่อมก่ออิฐถือปูน มีลักษณะสถาปัตยกรรมตามพระราชนิยม ทรงตึกเป็นแบบฝรั่งหรือเปอร์เซียผสมผสานกับไทยบนฐานศิลาแลงเดิม ตัวศาลเป็นอาคารชั้นเดียวหลบแดดขนาดสามห้อง ภายในบรรจุทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ กับเทวรูปสีดำองค์หนึ่ง ประมาณกันว่าเป็นศาลประจำเมืองก็ว่าได้
เจ้าพ่อพระกาฬ เทวรูปโบราณถูกประดิษฐานภายในศาลพระกาฬ
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองลพบุรีในปี พ.ศ. 2421 ทรงให้ความเห็นเกี่ยวกับศาลสูง ความว่า “ออกจากพระปรางค์สามยอดเดินไปสักสองสามเส้น ถึงศาลพระกาล ที่หน้าศาลมีต้นไทรย้อย รากจดถึงดิน เป็นหลายราก ร่มชิดดี เขาทำแคร่ไว้สำหรับนั่งพัก…ที่ศาลพระกาลนั้นเป็นเนินสูงขึ้นไปมาก มีบันใดหลายสิบขั้น ข้างบนเป็นศาลหรือจะว่าวิหารสามห้อง เห็นจะเป็นช่อฟ้า ใบระกา แต่บัดนี้เหลืออยู่เพียงแต่ผนัง ที่แท่นมีรูปพระนารายณ์สูงประมาณ ๔ ศอก เป็นเทวรูปโบราณทำด้วยศิลา มีเทวรูปเล็ก ๆ เป็นพระอิศวรกับพระอุมาอีก ๒ รูป ออกทางหลังศาลมีบันใดขึ้นไปบนเนินสูงอีกชั้นหนึ่ง มีหอเล็กอีกหอหนึ่ง มีแผ่นศิลาเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑแผ่นหนึ่ง มีรูปนารายณ์ประทมสินธุ์แผ่นหนึ่งวางเปะปะ ไม่ได้ตั้งเป็นที่…”
ราวปี พ.ศ. 2465 ศาลเทพารักษ์หลังเดิมขนาดสามห้องได้ทรุดโทรมลงมาก จึงมีการอัญเชิญเทวรูปองค์ดำดังกล่าวลงมาประดิษฐาน ณ เรือนไม้มุงสังกะสีบริเวณพระปรางค์ชั้นล่าง มีต้นไทรและกร่างปกคลุมทั่วบริเวณ ในปี พ.ศ. 2480 จึงมีการสร้างกำแพงเตี้ย ๆ ก่อด้วยศิลาแลงโดยรอบ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 บ้างว่า พ.ศ. 2495 ได้มีการสร้างศาลพระกาฬขึ้นใหม่เนื่องจากเรือนไม้สังกะสีเดิมได้ทรุดโทรมลง บางแห่งว่ามาจากการริเริ่มของศักดิ์ ไทยวัฒน์ ข้าหลวงประจำจังหวัดลพบุรีในขณะนั้นจากการสนับสนุนของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น บางแห่งว่าชลอ วนะภูติ ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญร่วมกับองค์กรอื่น ๆ รวมทั้งชาวลพบุรีและผู้ศรัทธาจำนวนมาก เงินสำหรับก่อสร้างได้มาจากการเรี่ยไรจากชาวลพบุรีและใกล้เคียง รวมทั้งสิ้น 304,586.22 บาท ศาลพระกาฬหลังใหม่จึงถูกออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมทรงไทยร่วมสมัยของกรมศิลปากรสมัยหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ เป็นหัวหน้ากองสถาปัตยกรรม[7] ก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ. 2496[8] ซึ่งดูเด่นเป็นสง่า ณ บริเวณหน้าฐานพระปรางค์โบราณ และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2495. ศาลพระกาฬ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ศาลพระกาฬ ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ศาลสูง ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำลพบุรี บริเวณที่ราบย่านใจกลางเมืองเก่าลพบุรี ในเขตพื้นที่ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี โดยอยู่ทางทิศตะวันออกของทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ – เชียงใหม่) ตรงข้ามกับพระปรางค์สามยอด ทางทิศเหนือใกล้กับโรงเรียนพิบูลวิทยาลัยทิศใต้ใกล้วัดนครโกษา ทิศตะวันออกติดถนนนารายณ์มหาราช ทิศตะวันตกติดกับทางรถไฟและถนนวิชาเยนทร์ ศาลพระกาฬ สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง แต่ก่อนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ศาลสูง” ทับหลัง ซึ่งทำด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 สมัยขอมเรืองอำนาจ วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณ พ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ประทับยืน ซึ่งเดิมพระกร และพระเศียร หายไป แต่ต่อมามีผู้นำพระเศียร ของพระสมัยอู่ทอง และพระกรมาต่อ ตามตำนานกล่าวว่า ที่พระกรหายไปทั้งหมดเพราะ พระกาฬไปรับลูกระเบิด พระกรจึงขาดหายไปหมด ในบริเวณรอบศาลพระกาฬมีลิงประมาณ 300 ตัว เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลพบุรี บริเวณนี้มีต้นกร่างขนาดใหญ่ (แต่ปัจจุบันมีไม่มาก มีแต่ต้นมะขามเทศ) เป็นที่อาศัยของลิง เมื่อมีคนนำอาหารและผลไม้มาไหว้ที่ศาลพระกาฬ ลิงก็จะเข้ามากิน ทำใหผู้คนที่เข้ามาสักการะส่วนใหญ่ได้ชมความน่ารักของลิงไปพร้อมๆกับการมากราบไหว้ศาลด้วย
โบราณสถานศาลพระกาฬ ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ หรือศาลสูงนั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
ฐานพระปรางค์ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเทวสถานในศาสนาพราหมณ์ที่สร้างขึ้นภายใต้อิทธิพลขอมสมัยวัฒนธรรมลพบุรี กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ลงมา ส่วนที่ 2 คือ ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้าฐานพระปรางค์ศิลาแลง ศาลหลังนี้ถูกสร้างทับบนซากอาคารเก่าตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากนั้นภายในโบราณสถานแห่งนี้ ยังพบทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่สามารถกำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 17
ศาลพระกาฬในปัจจุบันได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้า 904 วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2479 และได้รับการประกาศกำหนดเขตที่ดิน จำนวน 2 ไร่ 1 งาน 8 ตารางวา ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนพิเศษ 119 ง วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2545 สิ่งที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานคือ
1. ฐานปรางค์องค์ใหญ่
2. รูปพระนารายณ์ศิลา
3. รูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์
4. ตัวศาลพระนารายณ์. ใครจะมาไหว้หรือสักการะบูชาศาลเจ้าพ่อพระกาฬ. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองลพบุรี ยินดีต้อนรับทุกท่านมาไหว้เจ้าพ่อพระกาฬ. ขออะไรได้สมปรารถนาทุกประการ
ใจรัก. วงศ์ใหญ่. ข่าว/ สมชาย. เกตุฉาย. ภาพ/ ศูนย์ข่าว 5 เหล่าทัพ. จังหวัดลพบุรี